บ้านทรงไทยโบราณภาคกลางนี่มีหลายแบบนะครับ แบ่งได้ตามประโยชน์ใช้สอยนั่นแหละ เดี๋ยวนี้บ้านทรงไทยแบบนี้หาได้ยากขึ้น ยิ่งตามเมืองใหญ๋อย่างกรุงเทพยิ่งหายาก ส่วนมากจะเป็นพวกสร้างใหม่แบบประยุกต์ แต่ถ้าจะเอบบโราณๆนี่ตามต่างจังหวัดยังพอมีอยู่บ้างนะ
|
เรือนคหบดี |
ชื่อก็บอกแล้วเนาะว่าเป็นบ้านคหบดีหรือคนมีฐานะหน่อย อันนี้จะมีไว้รองรับกิจกรรมหลายๆอย่างครับ ดังนั้นก็จะมีตั้งแต่หอนั่งหรือหอกลาง หอนก (ก็เอาไว้เลี้ยงนกหรือเลี้ยงปลานั่นแหละ) ส่วนเรือนนอนจะเป็นเรือนที่ใหญ่ที่สุดหรือเป็นเรือนประธาน ปลูกในอาณาบริเวณเดียวกันไปเลยครับ
|
เรือนครอบครัวเดี่ยว |
เรือนครอบครัวเดี่ยวนี่สำหรับพ่อแม่ แล้วก็ลูกที่ยังไม่แต่งงาน โดยทั่วไปจะประกอบไปด้วยเรือนครัว เรือนนอน ระเบียงและชานร่วมสำหรับทำกิจกรรมต่างๆครับ
|
เรือนครอบครัวขยาย |
จากเรือนครอบครัวเดี่ยว พอลูกแต่งงานแต่งการก็จะมีการสร้างเพิ่ม แบบนี้ก็จะกลายเป็นเรือนขยาย คือมีหลายครอบครัวอยู่ในอาณาบริเวณเดียวกันครับ ทั่วๆไปแล้วเรือนของลูกที่แต่งงานไปมักจะอยู่ตรงข้ามกับเรือนของพ่อแม่ โดยหันหน้าจั่วไปทางทิศเดียวกัน ส่วนเรือนครัวหรือส่วนที่ทำครัวจะเป็นเรือนขวาง ลองดูภาพเรือนครอบครัวเดี่ยวด้านบนประกอบได้ครับ
|
เรือนร้านค้าริมทาง |
อันนี้สมัยนี้หายาก อดีตก็หาได้ไม่มาก เพราะชุมชนไทยภาคกลางมักจะเดินทางทางน้ำมากกว่าทางบก จะคล้ายๆเรือนเดี่ยวแหละครับ เพียงแต่ส่วนระเบียงจะพื้นที่เพิ่มเกือบเท่าตัว แล้วก็จะมีชายคายาวออกมาคลุมกันแดดกันฝนสำหรับทำการค้าขายไงครับ
|
เรือนร้านริมน้ำ |
ไว้สำหรับทำกิจกรรมทุกอย่างตั้งแต่อยู่อาศัยไปจนถึงทำการค้า แบ่งเป็นสองส่วนนะครับ คือส่วนหน้าไว้ทำการค้าขาย พื้นที่ส่วนหลังไว้อยู่อาศัย ส่วนการอาบน้ำก็ในคลองหรือแม่น้ำบริเวณใกล้เคียงนั่นเลยครับ
|
เรือนแพ |
เป็นเรือนที่ลอยในน้ำไปเลยครับ อยู่บนแพทั้งหลัง ส่วนมากก็จะใช้แพไม้ไผ่นะ พอมายุคหลังๆก็ใช้ถังน้ำเป็นทุ่นลอยน้ำครับ
|
กุฎิ |
สำหรับพระเลยครับอันนี้ เป็นเรือนนอนอย่างเดียวเลย ส่วนเรือนที่ใช้เก็บอาหารแห้งต่างๆจะแยกไปต่างหาก ส่วนของเรือนที่ใช้เก็บอาหารนี่จะเรียกว่ากัปปิยกุฎิครับ
===============================================================================
No comments:
Post a Comment